header 01

โรคเหงือกและรำมะนาด

โรคเหงือกเป็นการติดเชื้อของเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆตัวฟัน ซึ่งโรคเหงือกนี้จะเป็นสาเหตุหลักของการ ถอนฟันในผู้ใหญ่เลยทีเดียวครับ จากข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าประมาณ 3 ใน 4 ของผู้ใหญ่จะเป็นโรคเหงือกเพราะฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทหรือปล่อยปละละเลยเพราะคุณอาจเป็นโรคเหงือกได้ง่ายๆ

gingivitis1

  

 

สาเหตุของโรคเหงือกเกิดจากการที่มีการสะสมของ คราบอาหารต่างๆที่ติดบนตัวฟันหรือคราบจุลินทรีย์นานๆ ทำให้เชื้อโรคต่างๆที่อาศัยอยู่ในคราบเหล่านั้นสร้างสารพิษ ขึ้นมาทำลายเหงือกรวมถึงกระดูกที่รองรับฟันด้วย

 

 

   

gingivitis2การดำเนินของโรค การเริ่มต้นของโรคเหงือกส่วนใหญ่เกิดจาก การที่มีคราบจุลินทรีย์(Dental plaque)ไปยึดเกาะกับ ตัวฟันโดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือก สาเหตุของคราบจุลินทรีย์เหล่านี้ก็มาจากคราบของ อาหารต่างๆที่เรารับประทานเข้าไปในชีวิตประจำวัน ในระยะนี้ถ้าเราแปรงฟันอย่างสะอาดและถูก วิธีร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันอย่างมีประสิทธิภาพทุกๆวัน คราบเหล่านี้ก็จะสามารถถูกกำจัดไปได้โดยง่าย

 

 

 

 

gingivitis3

แต่ถ้าเราไม่ทำความสะอาดฟันดีพอ เชื้อโรคต่างๆที่มีอยู่ในคราบเหล่านี้ก็จะเริ่มทำ อันตรายเหงือกทำให้ขอบเหงือกอักเสบอ่อนๆ เห็นเป็นสีแดงกว่าเดิม

 

 

 

 

 

gingivitis3ถ้ายังคงปล่อยปละละเลย ไม่ทำความสะอาดให้ดีพอ คราบจุลินทรีย์ก็จะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆลงไปสู่ ใต้เหงือกทำให้เหงือกอักเสบมากขึ้นเป็นสีแดงมากขึ้น บางครั้งจะมีแร่ธาตุต่างๆมาตกตะกอนอยู่รวมกับคราบ เหล่านี้เกิดเป็นหินปูนหรือหินน้ำลายขึ้นซึ่งไม่สามารถ กำจัดออกได้โดยการแปรงฟันอีกต่อไปจำเป็นต้องไปให้ ทันตแพทย์เป็นผู้กำจัดออก

 

 

 

 

gingivitis5จากภาพจะเห็นว่าถ้ายังไม่ไปพบทันตแพทย์เพื่อ เอาคราบหินปูนออก เหงือกและกระดูกที่รองรับฟันก็ จะเริ่มถูกทำลายลงไป ในช่องปากจะเริ่มเห็นว่าขอบเหงือกจะร่น ลงไปและเริ่มรู้สึกว่าตัวฟันยาวมากขึ้น ฟันเริ่มโยก มีเลือดออกจากเหงือก

 

 

 

 

 

gingivitis6โรคเหงือกยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆตราบ ใดที่ยังไม่ได้รับการรักษาโดยทันตแพทย์ บางท่านเรียกโรคเหงือกระยะนี้ว่า โรคปริทันต์ หรือ โรครำมะนาด

 

 

 

 

 

gingivitis7ในระยะสุดท้ายเหงือกและกระดูกที่รองรับ ฟันถูกทำลายไปจนเกือบหมด ฟันจะโยกจน เห็นได้ชัด มีเลือดออกจากขอบเหงือกบ่อยๆ บางครั้งจะพบหนองไหลออกมาจากขอบเหงือกด้วย

 

 

 

 

 

gingivitis8ในที่สุดก็ต้องถอนฟันออกไปโดยไม่มี ทางรักษาทางอื่น

 

 

 

 

 

 

แต่เนื่องจากโรคเหงือกมักไม่มีอาการเจ็บปวดให้เห็นสักเท่าไรนักคนส่วนใหญ่จึงมักไม่รู้ว่า ตนเองกำลังเป็นโรคเหงือกอยู่และปล่อยให้โรคดำเนินต่อไปจนกระทั่งลุกลาม กลายเป็นโรคปริทันต์หรือรำมะนาดในที่สุด ซึ่งในระยะนี้ทั้งเหงือกและกระดูกที่รองรับฟันอยู่ด้านล่างจะถูกทำลาย ไปด้วยพร้อมๆกันทำให้เกิดฟันโยกและอาจต้องถูกถอนออกไปในภายหลัง

สรุปอาการแสดงที่ทำให้รู้ว่าเราอาจมีโรคเหงือกอยู่

- มีเลือดออกจากเหงือกขณะแปรงฟัน
- เหงือกมีสีแดงขึ้น และบวม
- ขอบเหงือกแยกจากตัวฟัน ไม่แนบสนิทไปกับตัวฟัน
- มีกลิ่นปากมานานแล้วก็ไม่หายไปเสียที
- มีหนองไหลออกมาระหว่างเหงือกกับตัวฟัน
- ฟันโยก
- ฟันมีการเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิมจนสังเกตได้
- ฟันปลอมที่ใส่อยู่หลวมมากขึ้น

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเหงือก
1. แปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันจะทำให้เราสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่ยึดติดอยู่กับตัวฟันออกไปได้ แปรงสีฟันที่ใช้ถ้าไม่ได้รับการแนะนำเป็นพิเศษจากทันตแพทย์ก็ควร ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแบบอ่อนนุ่มเท่านั้นถ้าใช้ร่วมกับยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มี ฟลูออไรด์ผสมอยู่ก็จะช่วยป้องกันฟันผุได้ดียิ่งขึ้น
2. การทำความสะอาดบริเวณซอกฟันทุกวัน โดยการใช้ไหมขัดฟันหรือเครื่องมือทำความสะอาดฟันแบบอื่นๆก็ตาม เข้าไปทำความสะอาดบริเวณซอกฟันซึ่งเป็นบริเวณที่แปรงสีฟันเข้าไปทำความสะอาดไม่ถึง อย่าลืมว่าโรดเหงือกในระยะแรกสามารถรักษาให้หายได้โดยการแปรงฟันร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันนะครับ ถ้าคุณใช้เครื่องมือทำความสะอาดซอกฟันชนิดอื่นนอกเหนือไปจากไหมขัดฟัน ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนถึงวิธีการใช้ที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เหงือกได้รับความบาดเจ็บ
3. ขั้นสุดท้ายก็เป็นการไปตรวจฟันกับทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนและรับการขูดหินปูนหรือทำความสะอาด ช่องปากโดยทันตแพทย์ในส่วนที่คุณทำความสะอาดไม่หมดไงครับ เท่านี้คุณคงเข้าใจถึงคำว่าโรคเหงือกดียิ่งขึ้นและสามารถปฏิบัติตัวให้ปลอดจาก โรคเหงือกได้แล้วนะครับขอให้ทุกท่านมีสุขภาพช่องปากที่ดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก siamdental.com

banner01